สมาธิสั้นรักษาอย่างไรได้บ้าง?

วิธีการดูแลรักษาโรคสมาธิสั้นต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายร่วมมือกัน ได้แก่ แพทย์และสหวิชาชีพบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาอื่น พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัว รวมถึงครูที่โรงเรียน ว่าแต่จะเป็นอย่างไรบ้าง เรามีคำตอบให้ครับ

ในส่วนของแพทย์ เป็นผู้ทำหน้าที่วินิจฉัยหาภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมที่เกิดขึ้น ให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อผู้ปกครองและครู รวมถึงการใช้ยาชนิดรับประทานในการรักษา โดยการรักษาด้วยยานั้นเป็นการรักษาเพื่อควบคุมอาการให้ผู้ป่วยสามารถฝึกทักษะในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น

พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวมีส่วนอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น โดยต้องเริ่มจากการเข้าใจในตัวโรคของผู้ป่วย รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านในเหมาะสมกับการฝึกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยกำลังให้ความสนใจกับคำสั่ง งานที่สั่งให้ทำควรเริ่มต้นงานที่ใช้เวลาไม่นานเกินไป ในส่วนของงานที่ต้องใช้เวลานานควรแบ่งงานเป็นหลายๆ ช่วง เมื่อทำงานเสร็จให้ชมทันที หากเริ่มมีอาการของโรค ให้ลองเบี่ยงเบนความสนใจและดึงกลับเข้ามาในงานที่ทำอีกครั้ง สามารถมีบทลงโทษได้ แต่ต้องเป็นบทลงโทษที่ตกลงกันมาก่อน และไม่รุนแรงเป็นเพียงการเตือนว่าทำผิดเท่านั้น อีกเรื่องที่สำคัญเช่นกันคือ พ่อแม่ต้องจำกัดเวลาการดูสื่อหน้าจอให้เหมาะสมตามอายุของเด็ก นอกจากนี้พ่อแม่ต้องแสดงพฤติกรรมที่ดี เป็นแบบอย่างให้แก่เด็กที่กำลังฝึก

ที่โรงเรียน ควรให้เด็กนั่งแถวหน้าใกล้ครู มีกฎระเบียบชัดเจน ครูต้องชื่นชมทันทีที่เด็กทำตามหน้าที่ตนเองได้ หากเริ่มมีพฤติกรรมก่อกวน ครูควรเตือน หรือเบี่ยงเบนความสนใจโดยให้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน

โดยสรุป โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่ไม่หายขาดเนื่องจากมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง การเลี้ยงดูที่ผิดวิธีไม่ได้ทำให้เป็นโรค แต่ทำให้อาการรุนแรงขึ้น แต่สามารถทำให้โรคดีขึ้นได้จากการร่วมมือของบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพ่อแม่ซึ่งเป็นบุคคลใกล้ตัวเด็กที่สุด

หากสนใจอยากให้ลูกของคุณมีอาการสมาธิสั้นดีขึ้น ลองส่งลูกมาที่สถาบัน BrainFit Studio เพราะที่นี่มีหลักสูตรที่ออกแบบมาผู้เป็นโรคสมาธิสั้นโดยเฉพาะโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดสมาธิสั้นโดยเฉพาะ